วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือมีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผลข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเลข รูปภาพ ตัวอักษร และเสียง

ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์  แบ่งออกเป็น  5  ส่วนคือ

ส่วนที1 หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit)  เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่อ ทำหน้าที่ป้อนสัญญาณเข้าสู่ระบบ เพื่อกำหนดให้คอมพิวเตอรืทำงานตามความต้องการ ได้แก่
- แป้นอักขระ (Keyboard)
-แผ่นซีดี (CD-Rom)
-ไมโครโฟน (Microphone) เป็นต้น

ส่วนที2 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมถึงการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ

ส่วนที่3 หน่วยความจำ  (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จาการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล

ส่วนที่4  หน่วยแสดงผล  (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล หรือผ่านการคำนวณแล้ว

ส่วนที่5  อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ (Peripheral Equipment) ป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม (modem) แผงวงจรเชื่อมต่อ เครือข่าย เป็นต้น

 ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
1. มีความเร็วในการทำงานสูง สามารถประมวลผลคำสั่งได้รวดเร็วเพียงชั่ววินาที จึงใช้ในงานคำนวณต่างๆได้อย่างรวดเร็ว
2. มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ทำงานได้ตลอด 24 ชั่งโมง ใช้แทนกำลังคนได้มาก
3. มีความถูกต้องแม่นยำ ตามโปรแกรมสั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4. เก็บข้อมูลได้มาก ไม่เปลืองเนื้อที่เก็บเอกสาร
5. สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน

ระบบคอมพิวเตอร์
หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆ กับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้งานให้มากที่สุด เช่น ระบบเสียภาษี  ระบบทะเบียนราษฎร์  ระบบทะเบียนการค้า  ระบบเวชระเบียนของโรงพยาบาล เป็นต้น
      การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้โดยการตรวจสอบจากการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
          ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้
1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หรือส่วนเครื่อง
2.ซอฟแวร์ (Software) หรือส่วนชุดคำสั่ง
3.ข้อมูล (Data)
4.บุคลากร (Peopleware)
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
         หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้  ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน ดังนี้คือ

    1.ส่วนประมวลผล (Processor)
    2.ส่วนความจำ (Memory)
    3.อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก (Input-Output   
       Devices)
    4.อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล (Storage Device)

ส่วนที่1 CPU
  CPU เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เปรียบเสมือนสมอง 
        มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประมวนผลและเปรียบเทียบข้อมูล โดยทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบและแปลงให้เป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ความสามารถของ ซีพียู นั้น พิจารณาจากความเร็วของการทำงาน การรับส่งข้อมูล อ่านและเขียนข้อมูลในหน่วยความจำ ความเร็วของซีพียูขึ้นอยู่กับตัวให้จังหวะที่เรียกว่า สัญญาณนาฬิกา เป็นความเร็วของจำนวนรอบสัญญาณใน 1 วินาที มีหน่วยเป็น เฮิร์ตซ์(Hertz)เช่น สัญญาณความเร็ว 1 ล้านรอบใน 1 วินาที เทียบเท่าความเร็วสัญญาณนาฬิกา 1 จิกะเฮิร์ตซ์ (1GHz)

ส่วนที่2 หน่วยความจำ (Memory)
จำแนกออกเป็น  2 ประเภท ดังนี้
1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
2. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)

1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
เป็นหน่วยเก็บข้อมูลและคำสั่งต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย ชุดความจำข้อมูลที่สามารถบอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่ง ข้อมูลจะถูกนำไปเก็บไว้และสามารถนำออกมาใช้ในการประมวลผลภายหลัง โดยCPUทำหน้าที่ในการนำข้อมูลเข้าและนำออกจากหน่วยความจำ


1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory) ต่อ

การทำงานของคอมพิวเตอร์ ต้องใช้พื้นที่ของหน่วยความจำในการทำงานประมวลผล และเก็บข้อมูล ขนาดของความจุของหน่วยความจำ คำนวณได้จากค่าจำนวนพื้นที่ ที่สามารถใช้ในการเก็บข้อมูล จำนวนพื้นที่คือ จำนวนข้อมูล และขนาดของโปรแกรมที่สามารถเก็บข้อมูลได้สูงสุด พื้นที่หน่วยความจำมีมากจะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วมากยิ่งขึ้น

หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU  มีความหมาย

ทางด้านฮาร์ดแวร์ 2 อย่าง คือ
1ชิป (chip) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
2. ตัวกล่องเครื่องที่มี CPU บรรจุอยู่

1.หน่วยความจำหลัก
   แบ่งได้ 2  ประเภทคือ หน่วยความจำแบบ “แรม” (RAM)และหน่วยความจำแบบ”รอม”(ROM)
  1.1 หน่วยความจำแบบ “แรม”(RAM=Random Access Memory)
    เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงาน ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะอยู่ได้นานจนกว่าจะปิดเครื่อง หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าป้อนให้กับเครื่อง เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile Memory)

1.2 หน่วยความจำแบบ “รอม” (ROM=Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร ยอมให้ซีพียูอ่านข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งานอย่างเดียว ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปเก็บไว้ได้โดยง่าย ส่วนใหญ่ใช้เก็บโปรแกรมควบคุม เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน (Nonvolatile Memory)
หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory Unit)
หน่วยความจำสำรอง  หรือหน่วยเก็บข้อมูลรอง เป็นหน่วยเก็บที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไปหลังจากปิดเครื่องคอมพิมเตอร์แล้ว
  
 หน่วยความจำรองมีหน้าที่หลักคือ
1.ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต
2.ใช้ในการเก็บข้อมูล โปรแกรมไว้อย่างถาวร
3.ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง

ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรอง
หน่วยความจำรองจะช่วยแก้ปัญหาการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับเพราะข้อมูลต่างๆที่ส่งเข้ามาประมวลผล เมื่อเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปเก็บในความจำหลักประเภทแรม หากปิดเครื่องหรือมีปัญหาทางไฟฟ้า อาจทำให้ข้อมูลสูญหายจึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำรอง เพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำแรมมาเก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไป หน่วยความจำประเถทนี้ส่วนใหญ่จะพบในรูปของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลภายนอก เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึก ชิปดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี เทปแม่เหล็ก หน่วยความจำแบบแฟลช หน่วยความจำรองนี้ ถึงจะไม่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ยังสามารถทำงานได้ปกติ  

ส่วนแสดงผลข้อมูล
ส่วนแสดงผลข้อมูล   คือส่วนที่แสดงข้อมูลจากสัญญาณไฟฟ้าในหน่วยประมวลผลกลางให้เป็นรูปแบบที่คนเราสามารถเข้าใจได้  อุปกรณ์ที่แสดงผลข้อมูลได้แก่  จอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์( Printer)เครื่องพิมพ์ภาพ Ploter และ ลำโพง (Speaker)  เป็นต้น

 บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE)
    บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่น อาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียว หรือ หลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของ หน่วยงานคอมพิวเตอร์ 

ประเภทของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE)
1. ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
2. ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม
3. ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ 

บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์
1. หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์ (EDP Manager)
2. หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน (System Analyst หรือ SA)
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
4. ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Operator)
5. พนักงานจัดเตรียมข้อมูล (Data Entry Operator)

นักวิเคราะห์ระบบงาน  
ทำการศึกษาระบบงานเดิม ออกแบบระบบงานใหม่           
โปรแกรมเมอร์               
นำระบบงานใหม่ที่นักวิเคราะห์ระบบออกแบบไว้มาสร้างเป็นโปรแกรม                   
วิศวกรระบบ               
ทำหน้าที่ออกแบบ สร้าง ซ่อมบำรุง และดูแลรักษาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ                   
พนักงานปฏิบัติการ               
ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ หรือภารกิจประจำวัน ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์

อาจแบ่งประเภทของบุคลากรคอมพิวเตอร์ เป็นระดับต่างๆได้ 4 ระดับดังนี้
1. ผู้จัดการระบบ (System Manager)
   คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
  คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้
    เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
 คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
4. ผู้ใช้ (User)
 คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ


                                 


วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เสิร์ชเอนจิน (search engine) คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย. เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป

สัดส่วนของผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกา (ข้อมูลจาก นิตยสารฟอรบส์ ฉบับวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548)

1. กูเกิล (Google) 36.9%
2. ยาฮูเสิร์ช (Yahoo! Search) 30.4%
3. เอ็มเอสเอ็นเสิร์ช (MSN Search) 15.7%

นอกจากด้านบน เว็บอื่น ๆ ที่เป็นที่นิยมได้แก่

- เอโอแอล (AOL Search)
- อาส์ก (Ask)
- เอ 9 (A9)
- ไป่ตู้ (Baidu, 百度) เสิร์ชเอนจิน อันดับ 1 ของประเทศจีน

 ประโยชน์ของการค้นข้อมูลโดยใช้ search engine
 1. ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว
 2. สามารถค้นหาแบบเจาะลึกได้ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ข่าว, MP3 และอื่นๆ อีกมากมาย
 3. สามารถค้นหาจากเว็บไซต์เฉพาะทาง ที่มีการจัดทำไว้ เช่น download.com เว็บไซต์เกี่ยวกับข้อมูลและซอร์ฟแวร์ เป็นต้น
 4. มีความหลากหลายในการค้นหาข้อมูล
 5. รองรับการค้นหา ภาษาไทย



 พื้นฐานการใช้งาน Search
1 พื้นฐานการใช้งาน Search
ส่วนค้นหาข้อมูล (Search)  เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูล  สำหรับผู้ใช้ที่มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่แน่นอนว่าต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกับเรื่องใด  แต่ไม่รู้ว่าข้อมูลดังกล่าวอยู่ในส่วนใด  และไม่ต้องการเสียเวลาค้นหาข้อมูลจากเว็บเพจหรือเว็บไซต์จำนวนมาก  ซึ่งในบางครั้งก็ยังไม่พบข้อมูลอีกด้วย  โดยโปรแกรมค้นหาข้อมูลจะจัดกลุ่มขอ้มูลที่เกี่ยวข้องหรือตรงกับ Keyword ที่ผู้ใช้ป้อน  แล้วแสดงผลลัพธ์เป็นรายการผลการค้นหา (Search Engine Results Pages : SERP)  ออกมาให้ผู้ใช้เลือกเข้าไปชมข้อมูลตามที่ต้องการ  แสดงได้ดังรูปที่ 1
รูปที่1.1 ก  แสดงหน้าเว็บของ Search Engine เช่น www.google.com  เพื่อใช้ป้อน Keyword
รูปที่ 1.1 ข  แสดงหน้าเว็บรายการผลการค้นหาของ www.google.com
โดยทั่วไป  หากกล่าวถึงเครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine) แล้ว  ผู้อ่านคงจะนึกถึง Search Engine เช่น Google, Yahoo หรือ MSN เท่านั้น  แต่ในความเป็นจริงแล้ว Search Engine ยังสามารถจำแนกตามวิธีการค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ออกเป็น 2 ประเภท  ดังนี้
Internal Search Engine
หรือ “Site Search” เป็นเครื่องมือค้นหาข้อมูลที่อยู่ภายในไซต์นั้นโดยเฉพาะ  ยกตัวอย่างเช่น  E-Bay ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เสนอขายสินค้าจากทั่วทุกมุมโลก  ผู้ชมสามารถค้นหารายการสินค้าโดยพิมพ์ Keyword ที่ต้องการลงในช่องป้อนข้อมูล  เช่น  ต้องการค้นหาต่างหูก็พิมพ์คำว่า “earring” เมื่อกดปุ่ม  Search  โปรแกรมจะประมวลผลรายการคำศัพท์จากดัชนีคำศัพท์ในฐานข้อมูลที่ตรงกับคำว่า “earring” ออกมาแสดงผล  ดังรูปที่ 1.2
หมายเหตุ   Internal Search Engine  มักจะนำมาใช้งานกรณีที่เป็นเว็บไซต์เสนอขายสินค้า  และมีรายการสินค้าแยกย่อยหลายชนิดจนไม่สามารถแสดงผลให้อยู่ในเว็บเพจเพียงหน้าเดียวได้  ยกตัวอย่างเช่น  นาฬิกาข้อมือที่มีหลายยี่ห้อ (Brand Name) และแต่ละยี่ห้อก็ยังจำแนกออกเป็นรุ่นต่างๆ อีก  ลักษณะเช่นนี้สามารถสร้าง Search Engine ภายในหน้าเว็บให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูล  อาจเป็นชื่อยี่ห้อหรือรุ่นโดยเฉพาะเพื่อจำกัดกลุ่มรายการสินค้าที่ต้องการค้นหาได้
รูปที่ 1.2  ตัวอย่าง Internal Search Engine บนหน้าเว็บ www.ebay.com
External Search Engine
หรือ “Web Search”  เป็นเครื่องมือค้นหาข้อมูลที่อยู่ภายนอกเว็บไซต์  หรือเป็นเว็บที่ค้นหาข้อมูลโดยเฉพาะซึ่งสามารถจำแนกข้อมูลที่ต้องการค้นหาออกเป็นประเภทต่างๆ  เช่น  ค้นหาเว็บ  รูปภาพ  หรือข่าวสาร  เป็นต้น External Search Engine  จะใช้หลักการทำงานเช่นเดียวกับ Internal Search Engine แต่ต่างกันตรงที่ฐานข้อมูลที่ใช้จัดเก็บดัชนีเพื่อตรวจสอบกับ Keyword จะมีขนาดใหญ่กว่า  เนื่องจากฐานข้อมูลนอกจากจะใช้จัดเก็บดัชนีคำศัพท์แล้ว  จะต้องเก็บชื่อ URL หรือตำแหน่งที่จัดเก็บเพจนั้นไว้ด้วย  เมื่อผู้ชมป้อน Keyword เข้ามา  โปรแกรมจะทำการประมวลผลและแสดงข้อความเชื่อมโยงพร้อมทั้ง URL  ของเว็บเพจที่ต้องการเชื่อมโยงไปถึง  ดังรูปที่ 1.3  สำหรับ External Search Engine ที่ผู้อ่านรู้จักกันเป็นอย่างดี  ได้แก่ Google, Yahoo และ MSN Search
รูปที่ 1.3  ตัวอย่าง External Search Engine บนหน้าเว็บ www.msn.com
สำหรับหน้า SERP ของ Search Engine ทั้ง 2 ประเภท  จะประกอบด้วย  รายงานผลสรุปของจำนวนข้อมูลที่ค้นหาได้  และรายการเชื่อมโยงที่ค้นหาได้ทั้งหมด (กรณีที่มีข้อมูลจำนวนมาก) เรียงลำดับต่อเนื่องกันไป  แต่หากเป็น SERP ของ External Search Engine จะแสดง URL ที่ข้อความเชื่อมโยงถึงด้วย  เพราะเป็นการค้นหาภายนอกไซต์  ส่วน Internal Search Engine เป็นการค้นหาภายในไซต์จึงไม่จำเป็นต้องแสดง URL
นอกจากนี้หากเปรียบเทียบประสิทธิภาพการค้นหาข้อมูลของ Search Engine ทั้งสองประเภทแล้ว  จะพบว่า External Search Engine สามารถช่วยผู้ใช้ค้นหาข้อมูลได้ประสบความสำเร็จมากกว่า  ด้วยคุณสมบัติความง่ายในการเรียนรู้และง่ายต่อการใช้งานนั่นเอง  ผู้อ่านลองสังเกตว่า External Search Engine ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก  เช่น Google จะไม่เน้นการออกแบบส่วนอินเตอร์เฟส (Interface) ให้มีความสวยงามหรือมีภาพกราฟฟิกมากนัก  แต่มุ่งเน้นด้านประโยชน์ใช้สอย  ดังนั้นหน้าเว็บจึงประกอบด้วยเครื่องมือที่จำเป็นต่อการค้นหาข้อมูลเท่านั้น  เช่น  ช่องป้อนข้อมูล  ปุ่มกดค้นหา  และตังเลือกประเภทการค้นหา  เป็นต้น  ดังรูปที่ 1.4  การจัดวางองค์ประกอบของเครื่องมือเท่าที่จำเป็นต้องใช้งาน  จะทำให้ผู้ชมไม่ต้องเสียเวลาเพื่อเรียนรู้การใช้งานเครื่องมือแต่ละตัวมากนัก
รูปที่ 1.4 ก  แสดงการออกแบบส่วนอินเตอร์เฟสกับผู้ใช้ของ www.google.com
รูปที่ 1.4 ข  แสดงการออกแบบส่วนอินเตอร์เฟสกับผู้ใช้ของ www.a9.com
ในขณะที่การออกแบบ Internal Search Engine จะเป็นการออกแบบตามสไตล์ของนักพัฒนาเว็บแต่ละคน  ดังนั้นรูปแบบอินเตอร์เฟส  ตำแหน่งการจัดวาง  และวิธีการใช้งานเครื่องมือจึงแตกต่างกันไป  ซึ่งส่วนอินเตอร์เฟสที่เปลี่ยนไปของแต่ละเว็บไซต์  ทำให้ผู้ใช้ต้องเสียเวลาค้นหา (เมื่อตำแหน่งการจัดวางเปลี่ยนไป)  และเสียเวลาเรียนรู้องค์ประกอบนั้น (เมื่อมีทางเลือกในการค้นหาเพิ่มเติม)  เนื่องจากผู้ใช้มักคุ้นเคยกับอินเตอร์เฟสของ External Search Engine  และคาดหวังว่าส่วนค้นหาข้อมูลแบบ Internal Search Engine ก็ควรจะมีลักษณะเช่นเดียวกัน
รูปที่ 1.5 ก  แสดงตัวอย่างการจัดวางตำแหน่งและรูปแบบอินเตอร์เฟสของเว็บwww.amway.com
รูปที่ 1.5 ข  แสดงตัวอย่างรูปแบบอินเตอร์เฟสของ Internal Search Engine ซึ่งมีการสร้างเครื่องมือกำหนดขอบเขตในการค้นหาบนหน้าเว็บwww.platinumpda.com
ดังนั้นหลักการออกแบบ Internal Search Engine ที่ดี  สิ่งสำคัญประการแรก  คือ  ต้องมีลักษณะอินเตอร์เฟสตรงตามความคาดหวังของผู้ใช้  นั่นคือ  ต้องสอดคล้องกับส่วนอินเตอร์เฟสของ External Search Engine ยกตัวอย่างเช่น  ประกอบด้วยช่องป้อนข้อมูล  ปุ่มกดค้นหา  ป้ายคำอธิบาย  รวมถึงตำแหน่งการจัดวางด้วย  ซึ่งการออกแบบส่วนประกอบดังกล่าวจะได้อธิบายในหัวข้อถัดไป