สัดส่วนของผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกา (ข้อมูลจาก นิตยสารฟอรบส์ ฉบับวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548)
1. กูเกิล (Google) 36.9%
2. ยาฮูเสิร์ช (Yahoo! Search) 30.4%
3. เอ็มเอสเอ็นเสิร์ช (MSN Search) 15.7%
นอกจากด้านบน เว็บอื่น ๆ ที่เป็นที่นิยมได้แก่
- เอโอแอล (AOL Search)
- อาส์ก (Ask)
- เอ 9 (A9)
- ไป่ตู้ (Baidu, 百度) เสิร์ชเอนจิน อันดับ 1 ของประเทศจีน
ประโยชน์ของการค้นข้อมูลโดยใช้ search engine
1. ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว
2. สามารถค้นหาแบบเจาะลึกได้ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ข่าว, MP3 และอื่นๆ อีกมากมาย
3. สามารถค้นหาจากเว็บไซต์เฉพาะทาง ที่มีการจัดทำไว้ เช่น download.com เว็บไซต์เกี่ยวกับข้อมูลและซอร์ฟแวร์ เป็นต้น
4. มีความหลากหลายในการค้นหาข้อมูล
5. รองรับการค้นหา ภาษาไทย
พื้นฐานการใช้งาน Search 1 พื้นฐานการใช้งาน Search ส่วนค้นหาข้อมูล (Search) เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูล สำหรับผู้ใช้ที่มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่แน่นอนว่าต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกับเรื่องใด แต่ไม่รู้ว่าข้อมูลดังกล่าวอยู่ในส่วนใด และไม่ต้องการเสียเวลาค้นหาข้อมูลจากเว็บเพจหรือเว็บไซต์จำนวนมาก ซึ่งในบางครั้งก็ยังไม่พบข้อมูลอีกด้วย โดยโปรแกรมค้นหาข้อมูลจะจัดกลุ่มขอ้มูลที่เกี่ยวข้องหรือตรงกับ Keyword ที่ผู้ใช้ป้อน แล้วแสดงผลลัพธ์เป็นรายการผลการค้นหา (Search Engine Results Pages : SERP) ออกมาให้ผู้ใช้เลือกเข้าไปชมข้อมูลตามที่ต้องการ แสดงได้ดังรูปที่ 1 รูปที่1.1 ก แสดงหน้าเว็บของ Search Engine เช่น www.google.com เพื่อใช้ป้อน Keyword รูปที่ 1.1 ข แสดงหน้าเว็บรายการผลการค้นหาของ www.google.com โดยทั่วไป หากกล่าวถึงเครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine) แล้ว ผู้อ่านคงจะนึกถึง Search Engine เช่น Google, Yahoo หรือ MSN เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว Search Engine ยังสามารถจำแนกตามวิธีการค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ Internal Search Engine หรือ “Site Search” เป็นเครื่องมือค้นหาข้อมูลที่อยู่ภายในไซต์นั้นโดยเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น E-Bay ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เสนอขายสินค้าจากทั่วทุกมุมโลก ผู้ชมสามารถค้นหารายการสินค้าโดยพิมพ์ Keyword ที่ต้องการลงในช่องป้อนข้อมูล เช่น ต้องการค้นหาต่างหูก็พิมพ์คำว่า “earring” เมื่อกดปุ่ม Search โปรแกรมจะประมวลผลรายการคำศัพท์จากดัชนีคำศัพท์ในฐานข้อมูลที่ตรงกับคำว่า “earring” ออกมาแสดงผล ดังรูปที่ 1.2 หมายเหตุ Internal Search Engine มักจะนำมาใช้งานกรณีที่เป็นเว็บไซต์เสนอขายสินค้า และมีรายการสินค้าแยกย่อยหลายชนิดจนไม่สามารถแสดงผลให้อยู่ในเว็บเพจเพียงหน้าเดียวได้ ยกตัวอย่างเช่น นาฬิกาข้อมือที่มีหลายยี่ห้อ (Brand Name) และแต่ละยี่ห้อก็ยังจำแนกออกเป็นรุ่นต่างๆ อีก ลักษณะเช่นนี้สามารถสร้าง Search Engine ภายในหน้าเว็บให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูล อาจเป็นชื่อยี่ห้อหรือรุ่นโดยเฉพาะเพื่อจำกัดกลุ่มรายการสินค้าที่ต้องการค้นหาได้ รูปที่ 1.2 ตัวอย่าง Internal Search Engine บนหน้าเว็บ www.ebay.com External Search Engine หรือ “Web Search” เป็นเครื่องมือค้นหาข้อมูลที่อยู่ภายนอกเว็บไซต์ หรือเป็นเว็บที่ค้นหาข้อมูลโดยเฉพาะซึ่งสามารถจำแนกข้อมูลที่ต้องการค้นหาออกเป็นประเภทต่างๆ เช่น ค้นหาเว็บ รูปภาพ หรือข่าวสาร เป็นต้น External Search Engine จะใช้หลักการทำงานเช่นเดียวกับ Internal Search Engine แต่ต่างกันตรงที่ฐานข้อมูลที่ใช้จัดเก็บดัชนีเพื่อตรวจสอบกับ Keyword จะมีขนาดใหญ่กว่า เนื่องจากฐานข้อมูลนอกจากจะใช้จัดเก็บดัชนีคำศัพท์แล้ว จะต้องเก็บชื่อ URL หรือตำแหน่งที่จัดเก็บเพจนั้นไว้ด้วย เมื่อผู้ชมป้อน Keyword เข้ามา โปรแกรมจะทำการประมวลผลและแสดงข้อความเชื่อมโยงพร้อมทั้ง URL ของเว็บเพจที่ต้องการเชื่อมโยงไปถึง ดังรูปที่ 1.3 สำหรับ External Search Engine ที่ผู้อ่านรู้จักกันเป็นอย่างดี ได้แก่ Google, Yahoo และ MSN Search รูปที่ 1.3 ตัวอย่าง External Search Engine บนหน้าเว็บ www.msn.com สำหรับหน้า SERP ของ Search Engine ทั้ง 2 ประเภท จะประกอบด้วย รายงานผลสรุปของจำนวนข้อมูลที่ค้นหาได้ และรายการเชื่อมโยงที่ค้นหาได้ทั้งหมด (กรณีที่มีข้อมูลจำนวนมาก) เรียงลำดับต่อเนื่องกันไป แต่หากเป็น SERP ของ External Search Engine จะแสดง URL ที่ข้อความเชื่อมโยงถึงด้วย เพราะเป็นการค้นหาภายนอกไซต์ ส่วน Internal Search Engine เป็นการค้นหาภายในไซต์จึงไม่จำเป็นต้องแสดง URL นอกจากนี้หากเปรียบเทียบประสิทธิภาพการค้นหาข้อมูลของ Search Engine ทั้งสองประเภทแล้ว จะพบว่า External Search Engine สามารถช่วยผู้ใช้ค้นหาข้อมูลได้ประสบความสำเร็จมากกว่า ด้วยคุณสมบัติความง่ายในการเรียนรู้และง่ายต่อการใช้งานนั่นเอง ผู้อ่านลองสังเกตว่า External Search Engine ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เช่น Google จะไม่เน้นการออกแบบส่วนอินเตอร์เฟส (Interface) ให้มีความสวยงามหรือมีภาพกราฟฟิกมากนัก แต่มุ่งเน้นด้านประโยชน์ใช้สอย ดังนั้นหน้าเว็บจึงประกอบด้วยเครื่องมือที่จำเป็นต่อการค้นหาข้อมูลเท่านั้น เช่น ช่องป้อนข้อมูล ปุ่มกดค้นหา และตังเลือกประเภทการค้นหา เป็นต้น ดังรูปที่ 1.4 การจัดวางองค์ประกอบของเครื่องมือเท่าที่จำเป็นต้องใช้งาน จะทำให้ผู้ชมไม่ต้องเสียเวลาเพื่อเรียนรู้การใช้งานเครื่องมือแต่ละตัวมากนัก รูปที่ 1.4 ก แสดงการออกแบบส่วนอินเตอร์เฟสกับผู้ใช้ของ www.google.com รูปที่ 1.4 ข แสดงการออกแบบส่วนอินเตอร์เฟสกับผู้ใช้ของ www.a9.com ในขณะที่การออกแบบ Internal Search Engine จะเป็นการออกแบบตามสไตล์ของนักพัฒนาเว็บแต่ละคน ดังนั้นรูปแบบอินเตอร์เฟส ตำแหน่งการจัดวาง และวิธีการใช้งานเครื่องมือจึงแตกต่างกันไป ซึ่งส่วนอินเตอร์เฟสที่เปลี่ยนไปของแต่ละเว็บไซต์ ทำให้ผู้ใช้ต้องเสียเวลาค้นหา (เมื่อตำแหน่งการจัดวางเปลี่ยนไป) และเสียเวลาเรียนรู้องค์ประกอบนั้น (เมื่อมีทางเลือกในการค้นหาเพิ่มเติม) เนื่องจากผู้ใช้มักคุ้นเคยกับอินเตอร์เฟสของ External Search Engine และคาดหวังว่าส่วนค้นหาข้อมูลแบบ Internal Search Engine ก็ควรจะมีลักษณะเช่นเดียวกัน รูปที่ 1.5 ก แสดงตัวอย่างการจัดวางตำแหน่งและรูปแบบอินเตอร์เฟสของเว็บwww.amway.com รูปที่ 1.5 ข แสดงตัวอย่างรูปแบบอินเตอร์เฟสของ Internal Search Engine ซึ่งมีการสร้างเครื่องมือกำหนดขอบเขตในการค้นหาบนหน้าเว็บwww.platinumpda.com ดังนั้นหลักการออกแบบ Internal Search Engine ที่ดี สิ่งสำคัญประการแรก คือ ต้องมีลักษณะอินเตอร์เฟสตรงตามความคาดหวังของผู้ใช้ นั่นคือ ต้องสอดคล้องกับส่วนอินเตอร์เฟสของ External Search Engine ยกตัวอย่างเช่น ประกอบด้วยช่องป้อนข้อมูล ปุ่มกดค้นหา ป้ายคำอธิบาย รวมถึงตำแหน่งการจัดวางด้วย ซึ่งการออกแบบส่วนประกอบดังกล่าวจะได้อธิบายในหัวข้อถัดไป |
||
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น